นอนกรน Snoring

 

นอนกรน แค่หายใจเสียงดัง เป็นโรคหรือไม่?

      อาการนอนกรน (Snoring) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เด็กเล็ก สาเหตุมักเกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของโรคหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) ได้ มักทำให้ผู้ป่วยนอนหลับไม่สนิท จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และยังเป็นสาเหตุของโรคต่างๆเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรค

     อาการที่บ่งชี้ถึงโรคหยุดหายใจขณะหลับ เช่น นอนหลับไม่เต็มอิ่ม รู้สึกไม่สดชื่น ปวดศีรษะช่วงเช้า มีอาการง่วงมากผิดปกติในตอนกลางวัน (Excessive Daytime Sleepiness) ในเด็กอาจพบมีพฤติกรรมก้าวร้าว สมาธิสั้น ผลการเรียนแย่ลงได้

 

เสียงกรนมาจากไหน?

     เสียงกรนเกิดจากเสียงของลมที่ผ่านช่องทางเดินหายใจที่แคบ ตั้งแต่บริเวณโพรงจมูก หลังโพรงจมูก ช่องคอและ กล่องเสียง

ขั้นตอนการวินิจฉัย

       - ประวัติและตรวจร่างกาย เพื่อหาตำแหน่งที่อาจเป็นสาเหตุ

       - การตรวจคุณภาพการนอนหลับ (Polysomnography) ถือเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัย จะสามารถแยกได้ระหว่าง ภาวะนอนกรนธรรมดา และ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ยังสามารถบอกความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้

แนวทางการรักษาภาวะนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

      1. การดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น

         - เปลี่ยนท่านอน เป็นนอนตะแคงหรือคว่ำ

         - ลดน้ำหนัก กรณีน้ำหนักเกิน

         - งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน

         - งดดื่มชา กาแฟ งดสูบบุหรี่ช่วงบ่าย

       2. การรักษาโรคที่อาจเป็นสาเหตุ หรือ โรคร่วม ถ้ามี

          - โรคเยื่อบุจมูกอักเสบเรื้อรัง / ภูมิแพ้อากาศ

          - เนื้องอกโพรงจมูก / ช่วงคอ

       3. การใช้เครื่องมือเพื่อเพิ่มขนาดช่องท่งเดินหายใจ

          - การใส่เครื่องมือในช่องปาก (Oral Appliance)

               

    

          - เครื่องช่วยหายใจขณะนอนหลับ (CPAP-Continuous Positive Airway Pressure)

 

                 

        4. การรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเพิ่มขนาดช่องทางเดินหายใจ ทั้งนี้การผ่าตัดขึ้นกับตำแหน่งที่กายวิภาคผิดปกติ

          - จี้เยื่อบุจมูก / เพนดานอ่อน / โคนลิ้นด้วยคลื่นวิทยุไฟฟ้า (Radiofrequency Volume Reduction)

 

                 

           - ผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นจมูกคด (Septoplasty)

 

               

          - ผ่าตัดต่อมทอนซิล และอดีนอยด์ (Adenotonsillecotmy)

 

          

           - ผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน (UPPP - Uvulopalatopharyngoplasty)

       

 

          - ผ่าตัดเจาะคอ (Tracheostomy) 

         
Visitors: 20,800