การได้ยินบกพร่อง Hearing Loss

     
      การได้ยินตามปกติเกิดขึ้นจากเสียงที่ผ่านเข้ามาในหูทั้ง 3 ชั้น ซึ่งประกอบด้วย หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน โดยส่งผ่านเส้นประสาทไปยังสมองเพื่อแปลความหมาย ดังนั้น หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นในหูชั้นใดชั้นหนึ่ง สามารถส่งผลให้มีอาการการได้ยินเสียงผิดปกติได้
 
การได้ยินบกพร่องแบ่งเป็น 2 แบบ
 
1. การนำเสียงบกพร่อง (CHL, Conductive Hearing Loss)
   คือ การได้ยินผิดปกติของ หูชั้นนอก , หูชั้นกลาง
  • หูชั้นนอก เช่น ขี้หูตัน หูชั้นนอกอักเสบ รูหูตีบ/ตัน
  • หูชั้นกลาง เช่น เยื่อแก้วหูทะลุ หูชั้นกลางอักเสบ น้ำคลั่งในหูชั้นกลาง กระดูกหูติด/หลุด
      ผู้ป่วยมักมีอาการได้ยินแย่ลง พูดเสียงเบาลงและได้ยินเสียงตัวเองก้องในหูเวลาพูด
การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุขอโรค
 
2. ประสาทหูเสื่อม (SNHL, Sensorineurel Hearing Loss)
      คือการได้ยินบกพร่องจากความเสื่อมของหูชั้นในหรือเส้นประสาทหู  ส่วนใหญ่พบได้ในผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น
อาการที่พบบ่อย คือ
  • การได้ยินแย่ลง โดยเฉพาะเวลาที่อยู่ในที่ที่มีเสียงรบกวน
  • รู้สึกได้ว่าได้ยินแต่จับใจความไม่ได้
  • มีเสียงดังหึ่งๆ ในหู
  • อาจมีอาการเวียนศีรษะ หรือบ้านหมุนได้
 การปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการประสาทหูเสื่อม
      - หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่เสียงดัง
      - หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อหูชั้นใน เช่น ยา Aspirin Aminoglycosides
      - ควบคุมโรคประจำตัวให้ดี เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไต
      - กรณีการได้ยินไม่เปลี่ยนแปลง แนะนำให้ตรวจการได้ยินทุก 1-2 ปี กรณีรู้สึกว่าการได้ยินแย่ลง หรือมีเสียงดังในหูเพิ่มขึ้น แนะนำให้มาตรวจหาสาเหตุ
      - พิจารณาใส่เครื่องช่วยฟัง (Hearing Aid) กรณีมีปัญหาในการสื้อสาร
      - พิจารณาใส่ประสาทหูเทียม (Cochlear Implant) กรณีเข้าเกณฑ์

      

 

 

 
Visitors: 20,604